กูรูแนะสะสมกองทุนทองคำเพิ่ม มั่นใจราคายังอยู่ในช่วงขาขึ้น

กูรูแนะสะสมกองทุนทองคำเพิ่ม มั่นใจราคายังอยู่ในช่วงขาขึ้น
นักวิเคราะห์กองทุนรวมแนะนักลงทุนทยอยสะสมกองทุนทองคำเพิ่ม มั่นใจราคาทองคำยังอยู่ในช่วงขาขึ้น แม้ว่าดอลลาร์สหรัฐฯจะแข็งค่าส่งผลให้ราคาสินค้าโภคภัณฑ์ปรับตัวลดลง พร้อมมองปัญหาหนี้ยุโรป และการออกมาตรการเพิ่มของจีนจะกดดันตลาดหุ้นในระยะสั้น

นายสานุพงศ์ สุทัศน์ธรรมกุล Fund SuperMart Analyst บริษัทหลักทรัพย์ (บล.) ฟิลลิป (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) กล่าววว่า การที่ดอลล่าร์สหรัฐฯยังคงแข็งค่าขึ้นต่อเนื่องกดดันสินค้าโภคภัณฑ์โดยรวมให้ปรับ ตัวลดลงทั้งราคาทองคำและน้ำมัน อย่างไรก็ตาม ราคาทองคำยังคงยืนเหนือระดับ 1,360 ดอลลาร์สหรัฐฯต่อออนซ์ ทำให้เราเชื่อว่าราคาทองคำยังคงอยู่ในแนวโน้มขาขึ้นต่อไป แนะนำให้สะสมเพิ่ม กองทุนทองคำเราแนะนำยังคงเป็น K-GOLD ของบลจ.กสิกรไทย และทางเลือกสำหรับกองทุนทองคำที่ไม่จ่ายปันผล เราแนะนำกองทุนทองคำของบลจ. แอสเซ็ท พลัส ASP-GOLD ซึ่งมีการป้องกันความเสี่ยงอัตราแลกเปลี่ยนเช่นเดียวกัน แต่ค่าใช้จ่ายกองทุน (Total Expenses) แพงกว่าเล็กน้อย ขณะที่น้ำมันเรายังคงแนะนำขายทำกำไรและรอจังหวะสะสมเมื่อราคาอ่อนตัว โดยเรามองราคาน้ำมัน Sideway ในกรอบ 84 - 94 ดอลลาร์สหรัฐฯต่อบาเรล โดยกองทุนน้ำมันที่เเนะนำได้เเก่ กอง K-OIL ของบลจ.กสิกรไทย

ขณะที่บรรยากาศในการลงทุนอิงไปในทางลบจากความผิดหวังตัวเลขจ้างงานนอก ภาคเกษตรที่ออกมาน้อยกว่าที่คาดการณ์ไว้ ทำให้ภาพระยะสั้นตลาดหุ้นทั่วโลกเผชิญแรงกดดันมีแนวโน้มที่จะผันผวน นอกจากนี้ ยังต้องระมัดระวังปัญหาหนี้ยุโรป และการออกมาตรการเพิ่มเติมของจีน ทำให้ระยะสั้นแนะนำรอดูสถานการณ์ อย่างไรก็ตาม ระยะยาวยังเชื่อว่าเศรษฐกิจโลกยังคงฟื้นตัวต่อเนื่อง นำโดยกลุ่มประเทศกำลังพัฒนา เรายังคงมองการลงทุนไปยังกองทุนที่เน้นลงทุนในตลาดเกิดใหม่อย่าง ABGEM และ ABAPAC ของบลจ.Aberdeen ขณะที่กองทุนจีนคาดว่าจะเห็นความผันผวนเพิ่มขึ้นหลังจากการปรับขึ้นอัตรา ดอกเบี้ยที่เร็วกว่าคาด

แต่เรามองว่าเป็นจังหวะที่ดีในการเข้าสะสมกองทุนจีนเพื่อการลงทุนในระยะยาว แนะนำสะสมกองทุนจีน ABCG (Aberdeen China Gateway Fund) เมื่อเห็นรัฐบาลจีนออกมาตรการ โดยกองทุนหุ้นต่างประเทศที่แนะนำทั้ง 3 กอง ไม่ได้มีการป้องกันความเสี่ยงอัตราแลกเปลี่ยน ทำให้อาจมีผลกำไรหรือขาดทุนที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงในค่าเงิน จึงเหมาะกับนักลงทุนที่รับความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยนได้ สำหรับกองทุนตราสารหนี้ต่างประเทศเรายังคงแนะนำให้สะสมเพิ่มกองทุน TMB Global Bond Fund ตามเดิม

ส่วนภาพรวมตลาดตราสารหนี้ในสัปดาห์ที่ผ่านมาอัตราผลตอบแทนพันธบัตร รัฐบาลระยะสั้นปรับตัวผันผวน โดยอัตราผลตอบแทนพันธบัตรระยะสั้น 1 เดือน - 3 เดือน ปรับตัวลดลง -5 b.p. และ -4 b.p.เนื่องจากความต้องการพันธบัตรระยะสั้น ขณะที่พันธบัตรรัฐบาลอายุ 1 ปี ปรับตัวเพิ่มขึ้นถึง +13 b.p. เนื่องจากตลาดคาดว่าการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน หรือ กนง. ครั้งแรกของปี 2554 จะมีการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายขึ้นอีก 25 b.p. เป็น2.25% ส่วนอัตราผลตอบแทนพันธบัตรอายุ 5 ปี ปรับตัวลดลงเล็กน้อย -4 b.p. ขณะที่พันธบัตรอายุ 10 ปี ยังทรงตัวไม่เปลี่ยนแปลง สำหรับสัปดาห์นี้ เราคาดว่าจะเห็นการปรับตัวขึ้นของอัตราผลตอบแทนพันธบัตรระยะสั้นตามการปรับ ขึ้นอัตราดอกเบี้ยที่ได้คาดการณ์ไว้ ขณะที่พันธบัตรระยะยาวมองว่ายังทรงตัว ทำให้เราคาดว่าจะเห็นความชันของเส้นอัตราผลตอบแทนลดลง

สำหรับตลาดหุ้นในสหรัฐช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา นักลงทุนยังคงให้ความสำคัญกับตัวเลขทางเศรษฐกิจเป็นหลักและหวังที่จะเห็นการ รายงานในเชิงบวกต่อเนื่องจากหลายๆสัปดาห์ก่อนที่ตัวเลขต่างๆให้ภาพที่ดี อย่างไรก็ดี ตัวเลขที่ตลาดจับตากลับออกน่าผิดหวัง เริ่มจากตัวเลขผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานครั้งแรกที่ออกมาสูงกว่าที่ตลาดคาด ไว้คือ เพิ่มขึ้น 18,000 รายมาอยู่ที่ระดับ 409,000 ราย เทียบกับคาดการณ์ที่ 400,000ราย ขณะที่ตัวเลขจ้างงานนอกภาคเกษตรเดือนธค.53 เพิ่มขึ้นเพียง 103,000 ตำแหน่งจากคาดการณ์ที่ 175,000 ตำแหน่ง และแม้อัตราการว่างงานลดลงมากกว่าคาด โดยอยู่ที่ 9.4% จาก 9.8% ในเดือนก่อนหน้า ต่ำสุดนับตั้งแต่พค. 2552 แต่นักลงทุนดูจะให้น้ำหนักกับตัวเลขจ้างงานนอกภาคเกษตรมากกว่า จึงส่งให้ DJIA ปรับตัวลดลงในช่วงท้ายสัปดาห์ ส่วนในยุโรป ตลาดหุ้นหลักปิดบวกหลังมีข่าวที่ว่าจีนจะช่วยเข้าซื้อพันธบัตรของประเทศที่ ประสบปัญหาอย่างโปรตุเกส, สเปน และกรีซ

ในส่วนของตลาดหุ้นเอเชียอตลาดหลักอย่างจีนปรับตัวเพิ่มขึ้นตามทิศทางตลาดโลก หลังนักลงทุนเริ่มกลับเข้ามาลงทุนอีกครั้ง สำหรับไทย บรรยากาศเชิงบวกในตลาดโลกช่วยส่งให้ SETI ปรับตัวขึ้นไปทดสอบระดับสูงสุดที่เคยทำไว้ที่ราว 1,055 ได้อีกครั้ง อย่างไรก็ดี แรงขายทำกำไรเมื่อ SETI ขยับใกล้ระดับดังกล่าวซึ่งเป็นแนวต้านทางจิตวิทยา ประกอบกับบรรยากาศที่ไม่ค่อยดีนักในตลาดโลกในช่วงท้ายสัปดาห์

ที่มา manager

คลังบทความของบล็อก