อีบุ๊กแซงหนังสือจากโรงพิมพ์

อีบุ๊ก (E-Book) หรือหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ปัจจุบันขายได้มากกว่าหนังสือเป็นเล่มที่พิมพ์จากกระดาษที่เราหาซื้ออ่านตามแผงหนังสือแล้ว

อาร์มาเก็ดคอนได้ประกาศว่า หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ประเภทคินเดิ้ล (Kindle E-Books) สามารถทำยอดขายชนะหนังสือที่พิมพ์ด้วยกระดาษทั่วไป โดยเฉพาะหนังสือประเภทที่ขายดีที่สุดของร้านขายหนังสือของอะเมซอน

เมื่อกลางปีหรือกรกฎาคมที่ผ่านมาปีที่แล้ว ทางอะเมซอนได้ประกาศว่า หนังสือที่บรรจุในคินเดิ้ลขายได้ดีกว่าหนังสือปกแข็งอย่างดี โดยหนังสือในคินเดิ้ลและหนังสือที่พิมพ์ด้วยกระดาษเป็นเนื้อหาเหมือนกัน

คินเดิ้ลเป็นคอมพิวเตอร์แบบกระดานชนวนที่ขนาดด้านหน้าประมาณปกหนังสือปกแข็งภาษาอังกฤษที่มีจำหน่ายทั่วไปตามแผงหนังสือแต่บางกว่า พกพาสะดวกกว่าและเบากว่าหนังสือเล่มหนา ๆ หนัก ๆ ทั่วไป แต่ปัจจุบันหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ที่บรรจุในแบบของคินเดิ้ลมีมากมายหลายประเภท เช่น ไอโฟน ไอแพด แบล็คเบอร์รี่ และแอนดรอยด์

สำหรับหนังสือภาษาอังกฤษปกแข็ง (Hard Cover Book) ที่พิมพ์มาจากโรงพิมพ์อย่างดีจะมีราคาสูงกว่าหนังสือภาษาอังกฤษที่พิมพ์ด้วยปกอ่อนและมีกระดาษภายในสีเหลืองอ่อน โดยปกติหนังสือปกแข็ง กระดาษภายในสีขาวคุณภาพดี จะมีราคาสูงกว่าสัก 4- 5 เท่า คนเลยมักจะนิยมอ่านหนังสือปกอ่อน หรือ Paperback มากกว่า โดยเฉพาะหนังสืออ่านเล่น แต่ถ้าเป็นตำราวิชาการที่สหรัฐอเมริกาหรือยุโรปก็จะพิมพ์ปกแข็ง แต่ในประเทศเอเชียเขาพิมพ์ปกอ่อนกระดาษอย่างดี แต่ราคาถูกกว่าประมาณครึ่งหนึ่ง

อะเมซอนได้รายงานว่า ในจำนวนหนังสือปกอ่อน (Paperback Books) ที่ขายได้ 100 เล่ม จะสามารถขายในคินเดิ้ลได้ถึง 115 เล่ม ตั้งแต่ต้นปีที่เพิ่งผ่านมา

ในควอเตอร์สุดท้ายของปีที่ผ่านมาซึ่งเป็น 3 เดือนสุดท้าย จนถึง 31 ธันวาคม อะเมซอนขายได้ประมาณ 390,000 ล้านบาท ซึ่งยอดขายมากกว่าปีที่แล้วถึง 31%

นอกจากนี้ยอดขายในสหรัฐอเมริกาและแคนาดา กระโดดสูงขึ้นถึง 50% มากกว่าของปีที่แล้ว ถ้าหากเป็นยอดขายทั่วทั้งโลกสูงขึ้น 26%

นอกจากคินเดิ้ลของอะเมซอนที่ขายหนังสืออิเล็กทรอ นิกส์แล้ว ก็ยังมี บาร์นส์แอนด์โนเบิ้ล นุ๊ค โซนี่ และบอร์เดอร์ส โคโบ

อีบุ๊กหรือหนังสืออิเล็กทรอนิกส์นั้น เป็นอีกหนึ่ง นวัตกรรมที่นิยมใช้ในโรงเรียนในสหรัฐอเมริกาและยุโรป รวมทั้งญี่ปุ่น เกาหลี และสิงคโปร์ แต่ปัจจุบันหลายโรงเรียนในประเทศเหล่านี้ เขาใช้ไอแพดเพื่อบรรจุหนังสืออ่าน ทำรายงาน ส่งการบ้าน และเรียนผ่านระบบอินเทอร์เน็ต กับอาจารย์สอนหนังสือหรือที่เรียกว่าระบบ อีเลิร์นนิ่ง (E-Learning)

ประเทศไทยหากกระแส 3G แรง ก็อาจจะได้เห็นนักศึกษาและนักเรียนถือคอมพิวเตอร์ประเภทไอแพดหรือคินเดิ้ลไปเรียนหนังสือโดยไม่ต้องแบกกระเป๋าหนังสือขนาดหนักไปเรียน อนาคตแบบนี้คงรอไม่นาน.

รศ.ดร.บุญมาก ศิริเนาวกุล
อธิการบดี มหาวิทยาลัยนานาชาติแสตมฟอร์ด
boonmark@stamford.edu
ที่มา เดลินิวส์

คลังบทความของบล็อก