แบงก์ชาติชี้ไตรมาส 4 เงินเฟ้ออาจหลุดกรอบ ด้าน กนง.พร้อมรับมือ ส่งนโยบายดอกเบี้ยควบคุมแบบค่อยเป็นค่อยไป
วันนี้ (22 มี.ค.) นายประสาร ไตรรัตน์วรกุล ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กล่าวว่า ทาง ธปท.คาดว่าช่วงไตรมาส 4 ของปีนี้ มีโอกาสที่เงินเฟ้อพื้นฐานจะหลุดกรอบเป้าหมายที่ ธปท. วางไว้ที่ 0.5-3% เนื่องจากมีแรงกดดันจากหลายทิศทาง ทั้งราคาน้ำมันในตลาดโลกปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ปัจจัยด้านอุปโภคบริโภคทั้งในและต่างประเทศ สภาพคล่องของตลาดการเงินโลกและไทยที่สร้างแรงกดดันต่อเงินเฟ้อ รวมทั้งการคาดการณ์เงินเฟ้อล่วงหน้าของผู้ประกอบการและผู้บริโภค ที่สร้างแรงกดดันต่อเงินเฟ้อให้หลุดกรอบเป้าหมายที่วางไว้ ขณะที่อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจ (จีดีพี) ปีนี้คาดว่าจะอยู่ที่ 3-5% แม้จะมีปัจจัยเสี่ยงทั้งเงินเฟ้อ และสถานการณ์ภัยพิบัติในญี่ปุ่น และความไม่สงบในตะวันออกกลาง
ทั้งนี้จากการสำรวจผู้ประกอบการและผู้บริโภค พบว่าปัจจุบันประชาชนคาดการณ์เงินเฟ้อล่วงหน้าสูงขึ้นกว่าที่ผ่านมา ธปท.จึงเห็นว่าเรื่องดังกล่าวต้องเข้าดูแลอย่างเร่งด่วน เพราะเห็นว่าหากผู้ประกอบการคาดว่าราคาสินค้าอีก 3 เดือนข้างหน้าจะปรับตัวขึ้น ผู้ประกอบการจะตั้งราคาปัจจุบันสูงกว่าราคาที่แท้จริง ขณะที่ผู้บริโภคมองว่าสินค้าจะขาดตลาด จะเกิดการกักตุนสินค้าเช่นกัน เหมือนกับช่วงหลายเดือนที่ผ่านมาที่สินค้าบางรายการขาดตลาดจากการกักตุนสินค้าของประชาชน
อย่างไรก็ตาม ธปท. ยืนยันว่า การดำเนินนโยบายทางการเงินเพื่อดูแลเงินเฟ้อ โดยการทยอยปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยที่คาดว่าจะเร่งตัวสูงขึ้นนั้น ไม่ได้เป็นปัจจัยหลักที่ดึงเงินทุนต่างประเทศให้เข้ามาลงทุนในไทยมากขึ้น แต่เพราะเกิดจากศักยภาพการเติบโตของเศรษฐกิจ ความต้องการของผู้ลงทุนต่างประเทศ จากเดิมที่นิยมลงทุนในพันธบัตรสหรัฐฯ แต่เมื่อสถานการณ์เปลี่ยน นักลงทุนจึงหันมาลงทุนในสินทรัพย์อื่นแทน ประกอบกับหากเปรียบเทียบอัตราดอกเบี้ยกับประเทศอื่นๆในภูมิภาค เช่น อินเดีย ออสเตรเลีย ยังพบว่าประเทศไทยมีส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยที่ต่ำกว่า
"ที่ผ่านมาและปัจจุบันคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ก็ให้ความสำคัญกับเงินเฟ้อที่เร่งสูงขึ้น ซึ่ง กนง.เองก็ติดตามสถานการณ์ต่างๆที่จะสร้างแรงกดดันต่อเงินเฟ้อทุกปัจจัย แต่อย่างไรก็ตามจากการที่แบงก์ชาติได้ดูเงินเฟ้อปีนี้ล่วงหน้าถึงปลายปีพบว่าอาจเห็นเงินเฟ้อหลุดกรอบบนที่ 3% เราจึงพยายามดำเนินนโยบายทางการโดยใช้อัตราดอกเบี้ยเพื่อดูแลเงินเฟ้อ เพราะต้องเข้าใจว่าการส่งผ่านนโยบายถึงตลาดต้องใช้เวลา 6-8 ไตรมาส และหากจะไปเริ่มทำตอนที่เงินเฟ้อเริ่มสุกงอมก็จะไม่ทันต่อเวลา ดังนั้นสิ่งที่เราทำคือ ต้องดำเนินนโยบายแบบค่อยเป็นค่อยไป เพื่อหวังว่าระยะต่อไปการทำนโยบายดังกล่าวจะรักษาเสถียรภาพด้านราคาได้" นายประสาร กล่าว
นายประสาร ยังกล่าวเพิ่มเติมว่า สถานการณ์ราคาน้ำมันที่ปรับสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง คาดว่าจะไม่เป็นอุปสรรคต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจโลกรวมทั้งของไทยด้วย เนื่องจากการปรับขึ้นราคาน้ำมัน ดำเนินการแบบค่อยเป็นค่อยไป รวมทั้งสอดคล้องกับการคาดการณ์ของตลาดที่มองไว้ล่วงหน้าแล้ว ขณะที่ประเทศไทยปัจจุบันเริ่มมีสัดส่วนการนำเข้าน้ำมันลดลงจากอดีต จึงคาดว่าจะไม่ส่งผลกระทบมากนัก
อย่างไรก็ตาม ธปท.ยืนยันว่ายังติดตามสถานการณ์ดังกล่าวต่อไป เพราะหากราคาน้ำมันดิบตลาดดูไบ สูงเกินกว่า 130 เหรียญต่อบาเรล และยืนอยู่ระดับดังกล่าวเป็นเวลานาน อาจส่งผลกระทบต่อการนำเข้าของไทย จนเกิดปัญหาขาดดุลบัญชีชะระเงินได้ จากที่เกินดุลบัญชีเดินสะพัดในปัจจุบัน
"เหตุการณ์ไม่สงบในตะวันออกกกลางก็เป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้ราคาน้ำมันสุงขึ้น แต่ก็ยังถือว่าราคาน้ำมันตอนนี้ยังต่ำกว่าในอดีตที่ผ่านมา รวมทั้งโครงสร้างตอนนี้ก็เริ่มเปลี่ยน คือ มีแหล่งน้ำมันที่อื่นนอกเหนือจากตะวันออกกลางด้วย สำหรับตอนนี้ที่เราประเมินไว้คือ หากราคาน้ำมันยืนอยู่ที่ระดับนี้ก็คาดว่าจะไม่เป็นอุปสรรคต่อการเติบโตของเศรษฐกิจไทยอย่างแน่นอน" นายประสาร กล่าวทิ้งท้าย.
แบงก์ชาติชี้ไตรมาส4เงินเฟ้อมีสิทธิหลุดกรอบ
ที่มา เดลินิวส์
ข่าวหุ้น,ตลาดหุ้น,ข่าวธุรกิจ,การซื้อขาย,สกุลเงินซื้อขาย,trading currency,forex trader,forex online trading,forex trading,trade,traing
คลังบทความของบล็อก
-
▼
2011
(73)
-
▼
มีนาคม
(9)
- ไขกลยุทธ์ความสำเร็จเซเว่นฯ ถูกที่...ถูกเวลา...ถูกใจ
- แบงก์ชาติชี้ไตรมาส4เงินเฟ้อมีสิทธิหลุดกรอบ
- หุ้นไทยแผ่วปิดร่วง 0.79 จุด
- อะ อะ..อั้ม
- อาชีพ “ธนาคาร” เนื้อหอม-“แบงก์พาณิชย์” ฟาดหลักล้าน...
- “ผู้เชี่ยวชาญพลังงาน” ห่วงน้ำมันขึ้น หลังโรงกลั่นญ...
- นักลงทุนตื่นสึนามิกดหุ้นไทยร่วง
- 3เศรษฐีเมืองไทย รวยติดอันดับโลก
- เผยอันดับเศรษฐีโลกปี 2011 คาร์ลอส สลิม รวยสุด
- ► กุมภาพันธ์ (11)
-
▼
มีนาคม
(9)